วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561

IP Address กับ DNS Domain name server

หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Addresss) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 205.42.117.104 โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน และเนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนอยู่ในเครือข่าย ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำ เรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Server) ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน
                โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศ โดยพัฒนาเป็นแบบลำดับชั้น (hierarchical structure) ซึ่งโดเมนระดับบนสุด (top level domain) มีหน่วยงานที่ดูแล คือ INTERNIC (internationai Network information Center) ได้แบ่งโดเมนระดับบนสุดออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
1. โดเมนทั่วไป (generic domain) เป็นโดเมนระดับบนสุดที่แสดงถึงองค์กรหรือหน่วยงาน
                         ตาราง ตัวอย่างโดเมนทั่วไปที่บ่งบอกประเภทขององค์กร
โดเมนทั่วไป                                      ใช้สำหรับ                                                       ตัวอย่าง
.com                              กลุ่มธุรกิจการค้า (commercial organization)                 aksorn.com
.edu                               สถาบันการศึกษา  (educationnal institon)                     centre.edu
.gov                               หน่วยงานของรัฐบาลที่ไม่ใช่หน่วยงานทางทหาร         nasa.gov
                                      (government agency)
.int                                หน่วยงานระดับนานาชาติ (international organiza-        nato.int
                                     tions)
.mail                             หน่วยงานทางทหาร (department of Defence and         navy.mil
                                     other Military sites)
.net                              หน่วยงานเกี่ยวกับเครือข่าย (networking resource)       nindspring.net
.org                              หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร (private organization)       unesco.org

2. โดเมนรหัสประเทศ (country code domain) เป็นโดนเมนระดับบนสุดซึ่งแบ่งตามลักษณะภูมิศาสตร์ หรือประเทศ
                           ตาราง ตัวอย่างโดเมนรหัสประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่
โดเมนรหัสประเทศ                      ประเทศ                   โดเมนรหัสประเทศ          ประเทศ
       ar                                       อาร์เจนตินา                       ie                             ไอร์แลนด์
       au                                      ออสเตรเลีย                       it                               อิตาลี
       at                                       ออสเตรีย                          jp                               ญี่ปุ่น
      ca                                        แคนาดา                           th                              ไทย
      cn                                        จีน                                   uk                              อังกฤษ
      dk                                       เดนมาร์ก                          us                              สหรัฐอเมริกา
          กรณีที่โดเมนระดับบนสุดเป็นโดนเมนที่บ่งบอกประเทศ จะแสดงโดเมนขั้นที่สอง (secondlevel domain) ซึ่งเป็นรูปแบบของชื่อโดเมนที่ต่อจากโดเมนระดับบนสุด โดยอยู่ตำแหน่งถัดจากโดเมนระดับบนสุดมาทางด้านซ้ายมือ
                                 ตาราง ตัวอย่างโดเมนย่อยในประเทศไทย
โดเมนขั้นที่สอง                    ประเภทขององค์กร                         ตัวอย่าง
or                                  องค์กรไม่หวังผลกำไร                         nectec.or.th
ac                                  สถาบันการศึกษา                                cu.ac.th
go                                 หน่วยงานราชการ                                mua.go.th
co                                 หน่วยงานเอกชน                                 dtac.co.th

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561

จริยธรรมกับกฎหมายคอมพิวเตอร์


เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและ การดำรงชีวิตของ
มนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิด พลาดไปจากคำสั่งที่
กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อ
เผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมี ลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง
ของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้อง
ตราพระราชบัญญัตินี้ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก หน้า ๑๓) ในพระราชบัญญัติจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หมวดความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ และหมวด อำนาจของเจ้าหน้าที่ แต่ ณ ที่นี้ จะขอกล่าวเพียงบางมาตราที่ส่งผลกระทบโดยตรง
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมิได้มีไว้สำหรับตนโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จริยธรรม :จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
1.  ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2.  ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3.  ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
4.  การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

บัญญัติ 10 ประการ ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์
ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
1.  ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.  ไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.  ไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4.  ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.  ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.  ไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.  ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.  ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.  ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
           10.  ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ  กติกามารยาท
มาตรา ๖ ถ้านำมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมิได้มีไว้สำหรับตนโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ดักรับข้อมูลลของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โดยมิชอบ และข้อมูลนั้นมิได้มีไว้เพื่อบุคคลทั่วไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ที่ทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว
อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถ
ทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีถ้าเป็นการส่งอีเมล จะหมายถึงการส่งอีเมลที่แผงไวรัส โทรจัน หรือ เมลบอมบ์ (อีเมลที่แนบไฟล์ขนาดใหญ่มาก ๆ) เมื่อผู้รับเปิดอีเมลอ่าน
จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานสะดุด ช้าลง หรือทำให้เครื่องช้า แฮ้งค์ จนใช้งานไม่ได้ ครั้งต่อไปเมื่อคุณส่งเมล เช็คขนาดของไฟล์ที่แนบว่า
ใหญ่เกินไปมั้ย มีไวรัสอะไร หรือมีโปรแกรมที่น่าสงสัยติดไปด้วยหรือเปล่า เพราะหากก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน หรือ สร้างความเสียหาย
ที่กระทบต่อความมั่นคง ระบบเศรษฐกิจ ของชาติ อัตราโทษจะเพิ่มสูงขึ้น
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด
      ความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ
      ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้าย
      ตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการยอมให้ความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบที่ตนควบคุม โทษเช่นเดียวกับมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพ
ที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง
ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย